ถ้าดูด้วยสายตาปกติ ปราศจากเครื่องมือพิเศษ
ส่องดูเนื้อกระจกแล้ว กระจกเทมเปอร์ ก็จะดูเหมือน กระจกธรรมดา ทั่วไป
แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ ความแข็งแกร่ง ที่มีมากกว่า กระจกธรรมดา (Float Glass) ประมาณ 5 เท่าตัว
เราจึงเรียกกระจกชนิดนี้ว่า กระจกนิรภัยเทมเปอร์
กระจกเทมเปอร์ เกิดจากขบวนการแปรรูปกระจกธรรมดา หรือ กระจกโฟล๊ท (Float
Glass) เพื่อให้มีความแข็งแกร่ง และทนทาน ไม่แตกหักง่าย
ทนต่ออุณหภูมิสูง-ต่ำ และแรงกระแทก ได้ดีกว่า เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพ
ที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก หรือร้อนจัด หนาวจัด
การตัด เจาะ เจียร บาก หรือ เปลี่ยนแปลงขนาด และรูปแบบ
ตามที่ต้องการ ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อน นำกระจกเข้ากระบวนการเทมเปอร์
เพราะหลังจากผลิตเป็น กระจกเทมเปอร์ แล้วจะไม่สามารถดำเนินการตามข้างต้นได้อีก
เพราะโครงสร้างของเนื้อกระจกได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้มีความแข็งแกร่งขึ้น ถ้าจะนำไปตัด
ไปเจาะ ไปบาก หรือเปลี่ยนแปลงแบบ จะทำให้กระจกแตก การเจียรขอบเพียงเล็กน้อย
อาจจะทำได้ แต่ก็เสี่ยงต่อการแตกได้เช่นกัน
คุณสมบัติกระจกเทมเปอร์ จะไม่แตกได้ง่ายๆ ถ้ากระจกเทมเปอร์แตก
จะแตกออกเป็นเม็ด คล้ายเม็ดข้าวโพด จะมีความแหลมคม ไม่มาก
โอกาสจะเกิดอันตรายจะน้อยกว่า กระจกธรรมดาที่จะแตกเป็นเสี่ยงๆ
คุณสมบัติ
1. มีความแข็งแรงกว่ากระจกธรรมดา 3-5 เท่า
2. ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดีกว่ากระจกธรรมดา
3. ทนทานต่อการรับแรงปะทะ หรือแรงลม
4. มีความปลอดภัยเมื่อแตก กระจกจะเป็นชิ้นเล็ก ๆ
กลมมนเหมือนเม็ดข้าวโพดไม่แหลมคมเหมือนกระจกทั่วไป
การใช้ กระจกเทมเปอร์ จะนิยมนำมาใช้ติดตั้ง
ในจุดที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก เช่นการใช้เป็น ท็อปโต๊ (Tabletops)
กระจกกั้นห้อง ฉากกั้นอาบน้ำ (Shower Screens)หรือ
ตู้อาบน้ำ (Shower Enclosures)
นอกจากนี้ นิยมนำมาใช้ติดตั้งในห้องครัว หรือที่เรียกกันว่า Kitchen
Spashback บริเวณเหนือเคาท์เตอร์ หน้าเตาไฟ เพราะทนความร้อนได้ดี
และใช้เป็น ท็อปเคาท์เตอร์ครัว เนื่องจากง่ายต่อการทำความสะอาด ไร้รอยต่อ
และยังสามารถเลือกสีสันได้ดังใจ ส่วนบริเวณอื่น เช่นผนังในห้องครัว
ถ้าไม่ใช่บริเวณหน้าเตาไฟ หรือส่วนที่เสี่ยงต่อการแตกได้ง่าย ก็สามารถเลือกใช้กระจกธรรมดา
หรือ กระจกโฟล๊ท ได้ เพราะจะช่วยประหยัดต้นทุนได้อีก
ประโยชน์และการนำไปใช้งาน
ใช้ในงานด้านสถาปัตยกรรม เช่น ผนังกระจก , ประตูบานเปลือย
ซึ่งมีคนเข้าออกพลุกพล่าน
ใช้ในงานตกแต่ง เช่น ห้องโชว์สินค้า , ประตู้ห้องน้ำ
, ฉากอาบน้ำ
สถานที่ที่ต้องรับแรงกระแทกสูง เช่น สนามกอร์ฟ
หน้าต่าง , ผนังกระจก (Curtain Wall) ที่ต้องรับแรงอัดของลมสูง
สถานที่ที่ต้องการความแข็งแรง และปลอดภัยสูง เช่น โรงเรียนอนุบาล ,
ราวบันไดเลื่อน